วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

สมุนไพรต้านมะเร็ง




สวัสดีค่ะ!! ครูพี่บอล วันนี้พบกับดิฉันครูฟ้าใสนะคะ

อยากให้ได้รู้จัก13 สมุนไพรต้านมะเร็งพร้อมวิธีรักษาโรคมะเร็งด้วยสมุนไพรแบบไทยๆ

ไปรับชมกันเลยค่ะ

สรรพคุณ ใบย่านาง



            สวัสดีค่ะครูบอล พบกับดิฉันอีกแล้วนะคะจะพาไปรู้จักสรรพคุณใบย่านาง

      อยากรู้ว่าใบย่านางมีสรรพคุณอย่างไรนั้น ไปรับชมกันเลย



สมุนไพรไทยพื้นบ้านรักษาโรคเบาหวาน



สวัสดีครูบอล!! วันนี้พบกับฉันอีกครั้ง

เราจะพาไปรู้จักกับ

สมุนไพรไทยพื้นบ้านรักษาโรคเบาหวาน พร้อมแล้วไปกันเลย




สมุนไพร 
 สมุนไพรคือ พืช ผัก ผลไม้ ที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วยต่าง ๆ  ซึ่งการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคนั้น ต้องนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกัน เราจะเรียกว่า “ยา” นอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจจะใช้สัตว์และแร่ธาตุ ต่างๆช่วยในการรักษาโรค การใช้ พืช สัตว์ หรือแร่ธาตุ มาเป็นองค์ประกอบในการทำเป็นยารักษาโรค เราเรียกว่า เภสัชวัตถุ” แต่หากนำ พืชสมุนไพรต่างๆ มาอาหาร เราเรียกสมุนไพรเหล่านี้ว่า เครื่องเทศ

ประเภทของสมุนไพร

      สำหรับการแบบประเภทของสมุนไพรไทย นั้น เราใช้การแบ่งประเภทของสมุนไพร ออกเป็น 2 ประเภท คือ สมุนไพรแผนโบราณ และสมุนไพรแผนปัจจุบัน ซึ่ง รายละเอียด แตกต่างกันอย่างไร มีรายละเอียดดังนี้
  • สมุนไพรแผนโบราณ คือ สิ่งที่ใช้ในการรักษาโรคต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้จาก พืช สัตว์ หรือแร่ธาตุ ซึ่งลักษณะการใช้งานในการรักษา เช่น ใช้ทำเป็นส่วนประกอบของอาหาร เครื่องดื่ม ยา หรือเครื่องสำอาง ซึ่งสมุนไพรแผนโบราณ เป็นความรู้และภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอด จากอดีตสู่ปัจจุบัน สำหรับสมุนไพรไทย ตามแบบฉบับแพทย์แผนไทย นั้น สามารถแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ สมุนไพรไทยแผนโบราณ และสมุนไพรจีนแผนโบราณ รายละเอียดดังต่อไปนี้
    • สมุนไพรไทยแผนโบราณ คือ พืช สัตว์ หรือแร่ธาตุ ที่สามารถหาได้ในท้องถิ่นของประเทศไทย ซึ่งแพทย์ใช้สิ่งเหล่านี้มาเป็นส่วนประกอบของยารักษาโรค อาหาร เครื่องดื่ม หรือเครื่องสำอาง
    • สมุนไพรจีนแผนโบราณ คือ พืช สัตว์ หรือแร่ธาตุ ที่ใช้ในการรักษาโรค โดยเป็นสมุนไพร ที่มีอยู่ในประเทศจีน เป็นความรู้และภูมิปัญญาการรักษาโรคที่ได้จากชนชาติจีน และสมุนไพรเหล่านี้ ส่วนใหญ่หาได้ที่ประเทศจีน หรือประเทศที่มีภูมิอากาศใกล้เคียงกับประเทศจีน
  • สมุนไพรแผนปัจจุบัน คือ พืช สัตว์ หรือแร่ธาตุ ที่ทางการแพทย์และเภสัชกร สมัยใหม่ ได้ศึกษา และทดลองแล้ว ให้การยอมรับถึงผลของสมุนไพร เพื่อใช้ในการรักษาโรคต่างๆ ซึ่งสมุนไพรแผนปัจจุบัน สามารถสกัดพืช สัตว์หรือแร่ธาตุต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบผง เม็ด น้ำ หรือ ครีม เป็นต้น เรียกลักษณะนี้ว่าการสกัดเอาสารบางชนิดจากสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์
  • ขอขอบคุณhttp://health.kapook.com/view37827.html
กระเจี๊ยบแดง

         กระเจี๊ยบแดง ภาษาอังกฤษ Rosella, Jamaican sorel, Roselle, Rozelle, Sorrel, Red sorrel, Kharkade, Karkade, Vinuela, Cabitutu
           กระเจี๊ยบแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus sabdariffa Linn. จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE)
           สมุนไพรกระเจี๊ยบแดง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักเก็งเค็ง, ส้มเก็งเค็ง, ส้มตะเลงเครง (ตาก), ใบส้มม่า (ระนอง), แกงแคง (เชียงใหม่), ส้มปู (แม่ฮ่องสอน), แบลมีฉี่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), แต่เพะฉ่าเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ปร่างจำบู้ (ปะหล่อง), กระเจี๊ยบ, ส้มเก็ง ส้มพอเหมาะ (ภาคเหนือ), ส้มพอดี (ภาคอีสาน), กระเจี๊ยบแดง, กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาคกลาง), ส้มพอ ส้มพอเหมาะ เป็นต้น มีถิ่นกำเนิดในประเทศซูดาน อินเดีย มาเลเซีย และประเทศไทย โดยในประเทศไทยมีแหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดลพบุรี สระบุรี อุตรดิตถ์ กาญจนบุรี และฉะเชิงเทรา


ลักษณะของกระเจี๊ยบแดง 

  • ต้นกระเจี๊ยบแดง จัดเป็นไม้พุ่มมีความสูงประมาณ 50-180 เซนติเมตร มีอยู่หลายสายพันธุ์ ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด
ต้นกระเจี๊ยบแดง
  • ใบกระเจี๊ยบแดง มีใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีหลายลักษณะ ลักษณะคล้ายรูปฝ่ามือ 3 แฉก หรือ 5 แฉก ใบเว้าลึกหรือเรียบ หรือใบเป็นรูปรีแหลม หรือรูปเรียวแหลม ขอบใบมีจักเป็นฟันเลื่อย ใบมีความกว้างและความยาวใกล้เคียงกันประมาณ 8-15 เซนติเมตร และก้านใบมีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร
ใบกระเจี๊ยบแดง
  • ดอกกระเจี๊ยบแดง ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบ มีกลีบดองสีชมพูหรือสีเหลือง บริเวณกลางดอกจะมีสีเข้มกว่าคือสีม่วงแดง ดอกมีเกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ก้านดอกสั้น มีริ้วประดับเรียวยาวปลายแหลม มี 8-12 กลีบ กลีบเลี้ยงจะแผ่ขยายติดกันออกหุ้มเมล็ดไว้ มีสีแดงเข้มและหักง่าย เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร
ดอกกระเจี๊ยบแดง
กลีบดอกกระเจี๊ยบแดง
  • ผลกระเจี๊ยบแดง ลักษณะของผลเป็นรูปรีมีปลายแหลม ผลมีความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่จะแห้งแตกเป็น 5 แฉก ในผลมีเมล็ดสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายรูปไตอยู่จำนวนมาก ประมาณ 30-35 เมล็ดต่อผล และผลยังมีกลีบเลี้ยงหนาสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มอยู่ เราจะเรียกส่วนนี้ว่ากลีบกระเจี๊ยบหรือกลีบรองดอก (Calyx) หรือที่คนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นดอกกระเจี๊ยบนั่นเอง
กลีบกระเจี๊ยบแดง
ลักษณะกระเจี๊ยบแดงรูปผลกระเจี๊ยบแดง
กระเจี๊ยบแดงแห้ง

สรรพคุณของกระเจี๊ยบแดง


  1. กลีบเลี้ยงของดอกหรือกลีบที่เหลือที่ผล ใช้เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือดและช่วยลดน้ำหนัก โดยมีการทดลองกับกระต่ายที่มีไขมันสูง แล้วพบว่าระดับไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอล และระดับไขมันเลว (LDL) ลดลง และมีปริมาณของไขมันชนิดดี (HDL) เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ความรุนแรงของการอุดตันหลอดเลือดแดงใหญ่จากหัวใจก็น้อยลงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัดกระเจี๊ยบแดงอีกด้วย (ผล, เมล็ด, น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  2. ดอกกระเจี๊ยบแดงช่วยละลายไขมันในเส้นเลือด (ดอก)
  3. เมล็ดใช้เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง (เมล็ด, น้ำกระเจี๊ยบแดง, ยอดและใบ)
  4. ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  5. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  6. ช่วยลดความดันโลหิต โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด มีรายงานการวิจัยทางคลินิกพบว่าในวันที่ 12 หลังผู้ป่วยได้รับชาชงกระเจี๊ยบแดงทุกวัน ค่าความดันโลหิตเมื่อหัวใจบีบตัวและคลายตัวลดลง 11.2% และ 10.7% ตามลำดับเมื่อเทียบกับวันแรก และ 3 วันหลังจากหยุดดื่มชาชง ความความดันโลหิตทั้งสองค่าก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  7. เมล็ดช่วยบำรุงโลหิต (เมล็ด)
  8. ช่วยแก้เส้นเลือดตีบตัน ช่วยรักษาเส้นเลือดให้แข็งแรงและอ่อนนิ่มยืดหยุ่นได้ดี (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  9. น้ำกระเจี๊ยบช่วยทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  10. ดอกกระเจี๊ยบแดงช่วยรักษาโรคเส้นเลือดแข็งเปราะได้เป็นอย่างดี (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  11. ในอียิปต์มีการใช้ทั้งต้นของกระเจี๊ยบแดงมาต้มกินเพื่อเป็นยารักษาโรคหัวใจและโรคประสาท (ทั้งต้น)
  12. ช่วยแก้อาการคอแห้ง กระหายน้ำ (น้ำกระเจี๊ยบแดง, ผล)
  13. น้ำกระเจี๊ยบช่วยแก้อาการร้อนใน (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  14. ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  15. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันหวัด เนื่องจากกระเจี๊ยบแดงมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารสีแดงในกลุ่มเดียวกับที่พบในผลไม้อย่างบลูเบอร์รี แต่กระเจี๊ยบแดงจะมีสารชนิดนี้มากกว่าบลูเบอร์รีถึง 50%
  16. ช่วยลดไข้ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  17. ดอกกระเจี๊ยบแดงช่วยแก้อาการไอ (น้ำกระเจี๊ยบแดง, ดอก)
  18. ใบใช้เป็นยากัดเสมหะ ขับเมือกมันในลำคอให้ลงสู่ทวารหนัก (ใบ, ดอก)
  19. ช่วยรักษาและป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน เนื่องจากมีวิตามินซีในปริมาณที่สูงอยู่พอสมควร (น้ำกระเจี๊ยบ)
  20. ช่วยในการย่อยอาหาร ใช้เป็นยาระบาย ช่วยหล่อลื่นลำไส้ ทำให้อุจจาระนิ่มขึ้น (น้ำกระเจี๊ยบ, เมล็ด, ยอดและใบ)
  21. ในอียิปต์มีการใช้ทั้งต้นนำมาต้มกินเป็นยาลดน้ำหนัก เนื่องจากเป็นยาระบายและยังช่วยฆ่าเชื้อในลำไส้ได้อีกด้วย (ทั้งต้น)
  22. ช่วยรักษาโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดเป็นผง ใช้รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะแล้วดื่มน้ำตาม วันละ 3-4 ครั้ง (ผล)
  23. ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (ผล)
  24. ใบกระเจี๊ยบแดงมีสรรพคุณช่วยแก้โรคพยาธิตัวจี๊ด หรือจะใช้ผลอ่อนนำมาต้มรับประทานติดต่อกัน 5-8 วัน หรือจะใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ หรือจะใช้ทั้งต้นใส่หม้อต้มกับน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวไฟจนงวดให้เหลือ 1 ส่วน แล้วผสมกับน้ำผึ้งกึ่งหนึ่ง ใช้รับประทานวันละ 3 เวลา หรือจะรับประทานน้ำยาเปล่า ๆ ก็ได้จนหมดน้ำยา (ใบ, ผล, ทั้งต้น)
  25. น้ำกระเจี๊ยบมีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันได้อีกทางหนึ่ง โดยมีรายงานวิจัยทางคลินิกว่า เมื่อให้ผู้ป่วยดื่มผงกระเจี๊ยบขนาด 3 กรัม ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน พบว่าได้ผลดีในการขับปัสสาวะ (น้ำกระเจี๊ยบแดง, เมล็ด, ยอดและใบ)
  26. ช่วยรักษาโรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ ลดอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีอาการปวดแสบ โดยใช้กระเจี๊ยบแห้งบดเป็นผงประมาณ 3 กรัม นำมาชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย ใช้ดื่มวันละ 3 ครั้ง ประมาณ 7 วัน หรือจนกว่าจะหาย ซึ่งจากรายงานการวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่ดื่มน้ำกระเจี๊ยบแดงขนาด 3 กรัม ชงกับน้ำเดือด 1 แก้ว ดื่มวันละ 3 ครั้ง เป็นระยะเวลา 1 ปี พบว่าผู้ป่วยกว่า 80% มีปัสสาวะที่ใสขึ้นกว่าเดิม และยังพบว่าปัสสาวะมีความเป็นกรดมากขึ้น จึงช่วยในการฆ่าเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้เป็นอย่างดี (น้ำกระเจี๊ยบแดง, เมล็ด)
  27. ช่วยแก้อาการขัดเบา โดยใช้กลีบเลี้ยงของผลหรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง นำมาตากแห้งแล้วบดให้เป็นผง นำมาใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (ประมาณ 3 กรัม) ใช้ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (ประมาณ 250 มิลลิลิตร) แล้วนำมาเฉพาะน้ำสีแดงใส วันละ 3 ครั้ง ดื่มติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการจะดีขึ้นและหายไป (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  28. ช่วยป้องกันโรคต่อมลูกหมากโต (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  29. ช่วยเพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ และช่วยป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลาย (น้ำกระเจี๊ยบแดง, เมล็ด)
  30. ดอกกระเจี๊ยบแดงช่วยรักษาไตพิการ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  • กระเจี๊ยบแดงอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ในผู้ป่วยบางราย เพราะมีฤทธิ์เป็นยาระบาย
  • น้ำกระเจี๊ยบมีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะ แม้ว่าจะมีความเป็นพิษต่ำมาก แต่ก็ไม่ควรดื่มในปริมาณเข้มข้นและติดต่อกันนาน ๆ เพราะจะไม่เกิดผลดีต่อสุขภาพ
  • คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบแดง (กลีบดอก) ต่อ 100 กรัม

    • พลังงาน 49 กิโลแคลอรีรูปกระเจี๊ยบแดง
    • คาร์โบไฮเดรต 11.31 กรัม
    • ไขมัน 0.64 กรัม
    • โปรตีน 0.96 กรัม
    • วิตามินเอ 14 ไมโครกรัม 2%
    • วิตามินบี 1 0.011 มิลลิกรัม 1%
    • วิตามินบี 2 0.028 มิลลิกรัม 2%
    • วิตามินบี 3 0.31 มิลลิกรัม 2%
    • วิตามินซี 12 มิลลิกรัม 14%
    • ธาตุแคลเซียม 215 มิลลิกรัม 22%
    • ธาตุเหล็ก 1.48 มิลลิกรัม 11%
    • ธาตุแมกนีเซียม 51 มิลลิกรัม 14%
    • ธาตุฟอสฟอรัส 37 มิลลิกรัม 5%
    • ธาตุโพแทสเซียม 208 มิลลิกรัม 4%
    • ธาตุโซเดียม 6 มิลลิกรัม 0%
ขมิ้นชัน

       
ขมิ้น หรือ ขมิ้นชัน ชื่อสามัญ Turmeric
ขมิ้น ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa L. จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)
ขมิ้น เป็นพืชล้มลุกที่จัดอยู่ในตระกูลขิง มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าจะเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีตั้งแต่สีเหลืองเข้มจนถึงสีแสดจัด โดยถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีชื่ออื่น ๆ อีก เช่น ขมิ้นชัน ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น หมิ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละภาคและจังหวัดนั้น ๆ นิยมนำไปใช้ในการประกอบอาหาร แต่งสี แต่งกลิ่นอาหาร เช่น แกงไตปลา แกงกะหรี่ เป็นต้น
          ขมิ้นชันอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และเกลือแร่ต่าง ๆ รวมไปถึงเส้นใย คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน เป็นต้น และขมิ้นชันมีสรรพคุณทางยาที่รักษาอาการและโรคต่าง ๆ ได้หลายชนิด มีประวัติในการนำมาใช้ในการรักษามากกว่า 5,000 ปี สำหรับขมิ้นชันที่จะนำมาใช้ประโยชน์นั้น การเก็บเกี่ยวไม่ควรเก็บในระยะที่ขมิ้นเริ่มแตกหน่อ เพราะจะทำให้สารที่มีประโยชน์อย่างเคอร์คูมินในขมิ้นมีน้อย ส่วนเหง้าที่เก็บมาต้องมีอายุอย่างน้อย 9-12 เดือน และต้องไม่เก็บไว้นานเกินไป และไม่ให้ถูกแสงแดด เพราะน้ำมันหอมระเหยในขมิ้นจะหมดไปเสียก่อน
ขมิ้นชันเมื่อได้เหง้ามาแล้ว หากจะนำไปรับประทานเพื่อใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ ควรล้างให้สะอาดก่อน และไม่ต้องปอกเปลือก แต่หั่นเป็นแว่นชิ้นบาง ๆ แล้วนำไปตากแดดสัก 2 วันแล้วนำมาบดให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นเม็ดเล็ก ๆ เท่าปลายนิ้วก้อย แล้วนำมารับประทานวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 2-3 เม็ด หลังอาหารและช่วงก่อนนอน หรือจะนำเหง้าแก่มาขูดเอาเปลือกออกแล้วนำไปล้างน้ำให้สะอาด นำมาบดให้ละเอียด เติมน้ำแล้วคั้นเอาแต่น้ำมารับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง หากนำขมิ้นมาใช้เป็นยาทาภายนอก เพื่อรักษาอาการแพ้ ผื่นคัน ผิวหนังอักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย ให้นำเหง้าขมิ้นมาฝนผสมกับน้ำต้มสุก แล้วทาบริเวณที่เป็นวันละ 3 ครั้ง หรือจะนำเอาผงขมิ้นมาโรยก็ใช้ได้เช่นกัน

วิธีกินขมิ้นชัน

มีการศึกษาพบว่า การรับประทานขมิ้นตามเวลาที่อวัยวะต่าง ๆ กำลังทำงาน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของขมิ้นให้มากขึ้น โดยวิธีกินขมิ้นชันควรรับประทานขมิ้นชันตามเวลาต่อไปนี้ตามการรักษา
สรรพคุณของขมิ้น
  • เวลา 03.00-05.00 น. ช่วงเวลาของปอด หากรับประทานช่วงเวลานี้จะช่วยในการบำรุงปอดช่วยให้ปอดแข็งแรง ช่วยป้องกันการเป็นมะเร็งปากมดลูก ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ผิวหนัง และช่วยเรื่องภูมิแพ้ หายใจไม่สะดวก
  • เวลา 05.00-07.00 น. ช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ ช่วยแก้ปัญหาลำไส้ใหญ่ สำหรับผู้ที่ขับถ่ายไม่เป็นเวลาหรือรับประทานยาถ่ายมานาน หากรับประทานขมิ้นในช่วงนี้จะช่วยฟื้นฟูปลายประสาทของลำไส้ใหญ่ให้บีบรัดตัว เพื่อช่วยให้ขับถ่ายได้อย่างเป็นปกติ ช่วยแก้ปัญหาลำไส้ใหญ่ขับถ่ายน้อยหรือมากจนเกินไป และช่วยป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวารและมะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย หากรับประทานพร้อมกับโยเกิร์ต น้ำผึ้ง นมสด มะนาว หรือน้ำอุ่น จะช่วยชะล้างผนังลำไส้ให้สะอาดได้
  • เวลา 07.00-09.00 น. ช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร จะช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด แน่นท้อง และยังช่วยแก้อาการปวดเข่า ขาตึง บำรุงสมอง ป้องกันโรคความจำเสื่อมได้อีกด้วย จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องกระเพาะอาหารที่เกิดจากการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา และยังลดอาการท้องอืด จุกแน่น ปวดเข่า ขาตึง ช่วยบำรุงสมองและป้องกันความจำเสื่อมได้
  • เวลา 09.00-11.00 น. ช่วงเวลาของม้าม ช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำเหลืองเสีย มีแผลบริเวณปาก บรรเทาอาการของโรคเบาหวาน โรคเกาต์ การอ้วนเกินไปหรือผอมเกินไป
  • เวลา 11.00-13.00 น. ช่วงเวลาของหัวใจ ช่วยบำรุงหัวใจให้มีสุขภาพแข็งแรง
  • เวลา 15.00-17.00 น. ช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ ช่วยบำรุงหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง แก้อาการตกขาว และการทำให้เหงื่อออกในช่วงเวลานี้จะช่วยทำให้ร่างกายขับสารพิษออกไปจากร่างกายได้มาก
  • เวลา 17.00 น. จนถึงเวลาเข้านอน การรับประทานขมิ้นในช่วงนี้จะช่วยทำให้ความจำดีขึ้น เมื่อตื่นนอนจะไม่อ่อนเพลีย การขับถ่ายก็จะดีขึ้นด้วย
สรรพคุณของขมิ้น
  1. สรรพคุณของขมิ้นข้อแรกคือมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งช่วยในการชะลอวัยและชะลอการเกิดริ้วรอย
  2. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
  3. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ผิวหนังมีสุขภาพดีแข็งแรง
  4. ขมิ้นชันอาจมีบทบาทช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง เช่น โรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งปากมดลูก
  5. ขมิ้นสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายได้
  6. ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
  7. ช่วยบรรเทาอาการของโรคเบาหวาน
  8. มีส่วนช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  9. ช่วยลดอาการของโรคเกาต์
  10. ช่วยขับน้ำนมของมารดาหลังคลอดบุตร
  11. ช่วยรักษาระบบทางเดินหายใจที่มีอาการผิดปกติ
  12. ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันโรคความจำเสื่อม
  13. อาจมีส่วนช่วยในการรักษาโรครูมาตอยด์ (ยังไม่ได้รับการยืนยัน)
  14. ช่วยลดการอักเสบ
  15. ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ
  16. ช่วยรักษาอาการแพ้และไข้หวัด
  17. ช่วยบรรเทาอาการไอ
  18. ช่วยรักษาอาการภูมิแพ้ หายใจไม่สะดวกให้มีอาการดีขึ้น
  19. ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด
  20. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในเม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยธาลัสซีเมียฮีโมโกบิลอี
  21. ช่วยรักษาแผลที่ปาก
  22. ช่วยบำรุงปอดให้มีสุขภาพดีและแข็งแรง
  23. น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง
  24. ช่วยรักษาอาการท้องเสีย อุจจาระร่วง โดยนำผงขมิ้นชันผสมน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอนแล้วนำมารับประทานครั้งละ 3 เม็ด 3 เวลา
  25. ขมิ้นชันสรรพคุณช่วยแก้อาการจุดเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ
  26. ช่วยรักษาโรคลำไส้อักเสบ
  27. ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้
  28. ช่วยรักษาอาการลำไส้ใหญ่บวม
  29. ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร
  30. ช่วยในการขับลม
  31. ช่วยบรรเทาอาการนิ่วในถุงน้ำดี
  32. มีฤทธิ์ในการช่วยขับน้ำดี
  33. ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร และทำความสะอาดลำไส้
  34. ช่วยบำรุงตับ ป้องกันตับอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ และป้องกันตับจากการถูกทำลายของยาพาราเซตามอล
  35. ช่วยบำรุงหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง
  36. ช่วยป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวาร
  37. ช่วยแก้อาการตกเลือด ด้วยการนำขมิ้นสดมาตำให้ละเอียด แล้วคั้นเอาน้ำมาผสมกับน้ำปูนใสแล้วรับประทาน
  38. ช่วยแก้อาการตกขาว
  39. ช่วยรักษาอาการปวดหรืออักเสบเนื่องจากไขข้ออักเสบ
  40. ช่วยแก้อาการน้ำเหลืองเสีย
  41. ช่วยแก้ผื่นคันตามร่างกาย
  42. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ผดผื่นคัน
  43. ช่วยรักษากลาก เกลื้อน ด้วยการใช้ผงขมิ้นผสมกับน้ำ นำมาทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนทุกวัน วันละ 2 ครั้ง
  44. ช่วยรักษาโรคผิวหนังพุพอง ตุ่มหนองให้หายเร็วยิ่งขึ้น
  45. ช่วยรักษาแผลจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ ด้วยการนำขมิ้นมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วตำจนละเอียด คั้นเอาแต่น้ำมาทาบริเวณดังกล่าว
  46. 1.สูตรขมิ้นสด (ช่วยให้ผิวเรียบเนียน รักษาสิวอุดตัน สิวอักเสบ)
    • ผิวสวยด้วยขมิ้นสูตรแรก ให้นำขมิ้นมาล้างน้ำให้สะอาดแล้วนำไปปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
    • เสร็จแล้วนำมาปั่นด้วยเครื่องปั่น แล้วนำมาใส่กระปุกแช่ในตู้เย็นให้ครบ 1 สัปดาห์
    • ใช้คอตตอนบัดปั่นหูจิ้มน้ำขมิ้นแล้วนำมาทาหน้าก่อนล้างหน้า 15 นาที
    • ควรใช้ตอนเย็นหรือก่อนนอน เพราะอาจทำให้หน้าเหลือง ต้องล้างประมาณ 2 ครั้งถึงจะออกหมด
    2.สูตรขมิ้นสด / ดินสอพอง / มะนาว (ช่วยให้ผิวหน้าผ่องใสเนียนเรียบ อ่อนเยาว์ สิวยุบเร็ว)
    • เตรียมวัตถุดิบดังนี้ ขมิ้นสดเล็กน้อย / ดินสอพอง 3 เม็ด / น้ำมะนาว 1 ผล
    • นำขมิ้นมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
    • นำขมิ้นที่หั่นแล้วมาปั่นรวมกับดินสอพองและน้ำมะนาวจนละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน
    • จะได้เนื้อครีมเข้มข้น ล้างหน้าให้สะอาดแล้วนำครีมที่ได้มาพอกทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีแล้วล้างออก
    • ควรทำเป็นประจำและสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้งจะช่วยให้เห็นผลชัดเจนยิ่งขึ้น
    ประโยชน์ของขมิ้น3.สูตรผงขมิ้น / น้ำมะนาว (ช่วยให้หน้าเนียนใส ช่วยลดอาการบวมแดงจากสิว ช่วยลดสิวและช่วยให้สิวยุบเร็ว)
    • นำผงขมิ้นมาผสมกับน้ำมะนาวพอข้น
    • นำมาแต้มบริเวณที่เป็นสิวก่อนนอนหรือจะพอกทั่วใบหน้าก็ได้
    • ทิ้งไว้ประมาณ 20-30 นาทีแล้วล้างออก (หรือจนกว่าจะรู้สึกว่าแสบก็ให้ล้างออกได้เลย)
    4.สูตรผงขมิ้น / น้ำนม (บำรุงผิวหน้าให้ผ่องใส อ่อนเยาว์ รักษาสิวเสี้ยน กระชับรูขุมขน รักษาแผลสิว)
    • นำผงขมิ้นผสมกับน้ำนมให้เข้ากัน
    • ล้างหน้าให้สะอาด แล้วนำขมิ้นที่ได้มาขัดบนผิวหน้าอย่างเบามือจนทั่วใบหน้า
    • พอกทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น ๆ
    5.สูตรผงขมิ้น / น้ำผึ้ง (บำรุงผิวหน้าให้ผ่องใส อ่อนเยาว์ รักษาสิวเสี้ยน กระชับรูขุมขน รักษาแผลสิว)
    • นำผงขมิ้นผสมกับน้ำผึ้ง ผสมให้เข้ากัน
    • ล้างหน้าให้สะอาด แล้วนำขมิ้นที่ได้มาขัดบนผิวหน้าอย่างเบามือจนทั่วใบหน้า
    • แล้วพอกทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น ๆ
    • ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก https://medthai.com/%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%99/

ว่านหางจระเข้

       

ว่านหางจระเข้ ชื่อสามัญ Aloe, Aloe vera, Aloin, Barbados, Jafferabad, Star cactus
ว่านหางจระเข้ ชื่อวิทยาศาสตร์ Aloe vera (L.) Burm.f. จัดอยู่ในวงศ์ XANTHORRHOEACEAE และอยู่ในวงศ์ย่อย ASPHODELOIDEAE
สมุนไพรว่านหางจระเข้ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ), หางตะเข้ (ภาคกลาง) เป็นต้น
ต้นว่านหางจระเข้ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกา โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีความสูงประมาณ 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้องสั้น มีใบเป็นใบเดี่ยว ใบหนาและยาว อวบน้ำ แผ่นใบมีสีเขียว มีจุดยาวสีขาวอ่อนออกเรียงเวียนรอบต้น โคนใบใหญ่ ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก มีหนามแหลมเล็ก ๆ สีขาวอยู่ห่างกัน ข้างในใบเป็นวุ้นสีเขียวอ่อน ส่วนดอกว่านหางจระเข้ ออกดอกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอด ดอกมีสีแดงอมสีเหลือง ก้านช่อดอกยาว โคมเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 แฉก เรียงเป็น 2 ชั้น เป็นรูปแตร ส่วนผลว่านหางจระเข้ เป็นผลแห้งคล้ายรูปกระสวย
ต้นว่านหางจระเข้
คำว่า “อะโล” (Aloe) มาจากภาษากรีกโบราณที่หมายถึงว่านหางจระเข้ ซึ่งเป็นคำที่แผลงมาจากคำว่า “Allal” ในภาษายิวที่มีความหมายว่าฝาดหรือขม เพราะเมื่อคนได้ยินคำนี้ก็จะนึกถึงว่านหางจระเข้นั่นเอง ว่านหางจระเข้ปกติแล้วเป็นพืชที่ขึ้นในเขตร้อนและภายหลังได้แพร่ขยายพันธุ์ไปสู่เอเชียและยุโรป จนทุกวันนี้ว่านหางจระเข้ก็เป็นที่นิยมของทั่วโลกไปแล้ว โดยว่านหางจระเข้จะมีมากมายกว่า 300 สายพันธุ์ ซึ่งมีตั้งแต่ขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตรไปจนถึงสายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ ลักษณะพิเศษของว่านหางจระเข้ก็คือ มีใบแหลมคล้ายเข็ม มีเนื้อหาและในเนื้อมีน้ำเมือกเหนียว
ดอกว่านหางจระเข้
เมื่อพูดถึง สมุนไพรว่านหางจระเข้ เรามักจะนึกถึงสรรพคุณในการรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลสด ช่วยบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน ใช้ทาเพื่อป้องรอยแผลเป็นมาตั้งแต่เด็ก ๆ ซึ่งสารที่สามารถใช้รักษาแผลดังกล่าวได้เป็นสาร Glycoprotein ที่มีชื่อว่า Aloctin A เป็น Anti-inflammatory ที่พบได้ในทุก ๆ ส่วนของว่านหางจระเข้ ซึ่งนอกจากสรรพคุณดังกล่าวแล้วยังมีประโยชน์ของว่านหางจระเข้อื่น ๆ อีกมากมาย ไปดูกันเลย…
รูปว่านหางจระเข้วุ้นว่านหางจระเข้

สรรพคุณของว่านหางจระเข้

  1. ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ด้วยการรับประทานเนื้อวุ้น หรือจะทำเป็นน้ำปั่นว่านหางจระเข้มาดื่มก็ได้ ก็จะช่วยบรรเทาอาการและป้องกันโรคเบาหวานได้
  2. ว่านหางจระเข้มีสรรพคุณช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ด้วยการตัดใบสดของว่านหางจระเข้แล้วทาปูนแดงด้านหนึ่ง แล้วเอาด้านที่ทาปูนปิดตรงขมับ จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้ (ใบ)
  3. วุ้นว่านหางจระเข้มีสรรพคุณช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยป้องกันและลดการเกิดแผลในกระเพาะขณะท้องว่าง ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารต่าง ๆ
  4. เนื้อว่านหางจระเข้สรรพคุณว่านหางจระเข้ช่วยแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ ด้วยการใช้ใบนำมาปอกเปลือกเอาแต่วุ้น นำมารับประทานวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ (เนื้อวุ้น)
  5. ใช้เป็นถ่าย ยาระบาย ที่เปลือกของว่านหางจระเข้จะมีน้ำยางสีเหลือง ในน้ำยางจะมีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinone) ที่มีฤทธิ์เป็นยาระบาย หากนำน้ำยางไปเคี่ยวให้น้ำระเหยออกแล้วทิ้งไว้ให้เย็น ก็จะได้สารสีน้ำตาลเกือบดำ หรือเรียกว่า “ยาดำ” ซึ่งยาดำนี้เองใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแผนโบราณที่ต้องการให้มีฤทธิ์เป็นยาระบายอยู่หลายตำรับ (ยางในใบ)
  6. ช่วยรักษาอาการท้องผูก ด้วยการกรีดเอายางจากว่านหางจระเข้มาเคี่ยวให้งวด ทิ้งไว้ให้เย็นจะได้ก้อนยาสีดำ (ยาดำ) แล้วตักมาใช้ประมาณช้อนชา เติมน้ำเดือด 1 ถ้วย แล้วคนจนละลาย โดยผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 2 ช้อนชาก่อนนอน แต่ถ้าเป็นเด็กให้รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชาก่อนนอน
  7. ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้เนื้อวุ้นจากใบเหลาให้เป็นปลายแหลมเล็กน้อย และนำไปแช่ตู้เย็นหรือน้ำแข็งจนเนื้อแข็ง แล้วนำไปใช้เหน็บในช่องทวารหนัก ควรหมั่นทำเป็นประจำวันละ 1-2 ครั้งจนกว่าจะหาย (เนื้อวุ่น)
  8. ช่วยแก้หนองใน (ราก, เหง้า)
  9. ช่วยแก้มุตกิดหรือระดูขาวของสตรี (ราก, เหง้า)
  10. ทั้งต้นของว่านหางจระเข้มีรสเย็น ใช้ดองกับสุรานำมาดื่มช่วยขับน้ำคาวปลาได้ (ทั้งต้น)
  11. ช่วยบรรเทาและแก้อาการปวดตามข้อ ด้วยการรับประทานเนื้อวุ้นครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้งเป็นประจำ จะช่วยทำให้อาการปวดดีขึ้น (วุ้นจากใบ)
  12. ใบว่านหางจระเข้มีรสเย็น นำมาตำผสมกับสุราใช้พอกรักษาฝีได้ (ใบ)
  13. ช่วยรักษาแผลสด แผลจากของมีคม แผลที่ริมฝีปาก แก้ฝี แก้ตะมอย ด้วยการใช้วุ้นจากใบนำมาแปะบริเวณแผลให้มิดชิดและใช้ผ้าปิดไว้ แล้วหยอดน้ำเมือกลงตรงแผลให้ชุ่มอยู่เสมอ หรือจะเตรียมเป็นขี้ผึ้งก็ได้ (วุ้นจากใบ)
  14. ช่วยรักษาแผลถลอกและแผลจากการถูกครูด (แผลพวกนี้จะเจ็บปวดมาก) ให้ใช้วุ้นว่านหางจระเข้นำมาทาแผลเบา ๆ ในวันแรกต้องทาบ่อย ๆ จะช่วยในการสมานแผล ทำให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น และทำให้ไม่เจ็บแผลมาก (วุ้นจากใบ)
  15. ช่วยรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ช่วยดับพิษร้อนบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อนจากแผล ด้วยการใช้วุ้นจากใบสดที่ล้างน้ำสะอาด แล้วฝานบาง ๆ นำมาทาหรือแปะไว้บริเวณแผลตลอดเวลา จะช่วยทำให้แผลหายเร็วมากขึ้นและอาจไม่เกิดรอยแผลเป็นด้วย (วุ้นจากใบ)
  16. ช่วยขจัดรอยแผลเป็น ทำให้แผลเป็นจางลง ป้องกันการเกิดรอยแผลเป็น (วุ้นจากใบ)
  17. ช่วยรักษาตาปลาและฮ่องกงฟุต ด้วยการใช้วุ้นจากใบที่ล้างสะอาดแล้ว นำมาปิดไว้บริเวณที่เป็นและหมั่นเปลี่ยนบ่อย ๆ จนกว่าจะดีขึ้น (วุ้นจากใบ)
  18. วุ้นจากใบใช้ทาเพื่อปกป้องผิวจากแสงแดด ด้วยการใช้วุ้นจากใบทาก่อนออกแดด หรือจะใช้ใบสดก็ได้ แต่ใบสดอาจทำให้ผิวหนังแห้ง เพราะใบมีฤทธิ์ฝาดสมาน ถ้าต้องการลดการทำให้ผิวแห้ง ก็อาจจะใช้ร่วมกับน้ำมันพืชหรืออาจเตรียมเป็นโลชั่นก็ได้ (วุ้นจากใบ)
  19. ช่วยรักษาอาการผิวหนังไหม้จากแสงแดด หรือไหม้เกรียมจากการฉายรังสี หรือแผลเรื้อรังจากการฉายรังสี โดยนำวุ้นของว่ายหางจระเข้มาทาผิวบ่อย ๆ ก็จะช่วยลดการอักเสบได้ แต่ถ้าไปนาน ๆระวังผิวแห้ง ควรผสมกับน้ำมันพืช เว้นแต่ว่าจะทำให้ผิวเปียกชุ่มอยู่ตลอดเวลา (วุ้นจากใบ)
  20. วุ้นจากใบใช้ทาเพื่อรักษาฝ้า (วุ้นจากใบ)
  21. ช่วยรักษาโรคเรื้อนกวาง (โรคสะเก็ดเงิน) ช่วยลดการตกสะเก็ดและลดอาการคันของโรคเรื้อนกวาง ทำให้แผลดูดีขึ้น (วุ้นจากใบ)

    ประโยชน์ของว่านหางจระเข้

    1. น้ําว่านหางจระเข้ สามารถช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยชะลอความแก่ชรา และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้อีกด้วย
    2. ว่านหางจระเข้อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ รวมไปถึงกรดอะมิโนอีกหลายชนิดที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุทองแดง ธาตุแมงกานีส ธาตุซีลีเนียม ธาตุโครเมียม วิตามินเอ วิตามินซี วิตามิอี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 6 วิตามินบี 9 โคลีน และยังเป็นพืชเพียงไม่กี่ชนิดที่มีวิตามินบี 12 ด้วย
    3. น้ําว่านหางจระเข้ช่วยในการย่อยอาหาร ทำความสะอาดลำไส้ใหญ่ ช่วยในการดีท็อกซ์ล้างสารพิษในร่างกาย ช่วยในการทำงานของระบบกระเพาะอาหาร และช่วยลดปริมาณของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้
    4. จากวารสารแพทย์อังกฤษตีพิมพ์ในปี 2000 (British medical journal) ระบุว่าสารสกัดจากว่านหางจระเข้สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยควบคุมความดันโลหิตและเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต และอาจจะมีความเป็นไปได้ว่ามันสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้อีกด้วย
    5. ช่วยป้องกันและแก้อาการเมารถเมาเรือ ด้วยการรับประทานเนื้อวุ้นว่านหางจระเข้หรือน้ําว่านหางจระเข้เย็น ๆ ก็จะช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้
    6. การใช้วุ้นว่านหางจระเข้ทาเป็นประจำวันละ 2-4 ครั้ง จะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง
    7. ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยทำให้ผิวพรรณเนียนนุ่ม ดูชุ่มชื้น แก้ปัญหาผิวแห้งกร้านตามหัวเข่า, ข้อศอก หรือส้นเท้าได้ เพียงแค่ใช้วุ้นจากใบว่านหางจระเข้แช่ในอ่างอาบน้ำ ในระหว่างอาบให้ใช้เนื้อวุ้นถูตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ต้องการ หากทำเป็นประจำก็จะช่วยทำให้ผิวพรรณของคุณเนียนนุ่มชื่นชื้นและเต่งตึงได้
    8. ช่วยเติมน้ำให้ผิว ทำให้ผิวหน้าและผิวกายชุ่มชื้น และป้องกันการเกิดริ้วรอยแห่งวัย เพียงแค่ใช้วุ้นจากใบว่านหางจระเข้นำมาพอกให้ทั่วบริเวณใบหน้าหรือบริเวณผิวที่ต้องการ ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก จะช่วยทำให้ผิวพรรณชุ่มชื้นสดใสและดูเต่งตึงขึ้น
    9. ว่านหางจระเข้รักษาสิว ยับยั้งการติดเชื้อที่เป็นสาเหตุของสิว ช่วยลดรอยดำจากสิว และช่วยลดความมันบนใบหน้า เพราะในใบว่างหางจระเข้จะมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ (ไม่แนะให้ใช้กับสิวอักเสบ เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย)
    10. ช่วยรักษาจุดด่างดำตามผิวหนัง อันเนื่องมาจากแสงแดดหรือจากอายุที่มากขึ้น ด้วยการใช้วุ้นจากใบสดนำทาที่ผิววันละ 2 ครั้งหลังอาบน้ำ และต้องทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอจึงจะเห็นผล
    11. ช่วยป้องกันการเกิดฝ้า หากใช้ว่านหางจระเข้เป็นประจำก็จะช่วยป้องกันการเกิดฝ้าได้เป็นอย่างดี (ไม่ใช่การรักษาแต่เป็นการป้องกัน)
    12. วุ้นจากใบสดใช้ชโลมบนเส้นผม จะช่วยทำให้เส้นผมสลวย ผมดกเป็นเงางาม ช่วยป้องกันและขจัดรังแค ช่วยบำรุงต่อมที่รากผมให้มีสุขภาพดี และยังช่วยรักษาแผลบนหนังศีรษะได้อีกด้วย
    13. ในฟิลิปปินส์ ใช้วุ้นจากว่านหางจระเข้ร่วมกับเนื้อในของเมล็ดสะบ้า ในการรักษาผมร่วงหรือหนังศีรษะล้าน
    14. ปัจจุบันได้มีการทดลองใช้วุ้นจากใบเพื่อรักษาคนไข้ที่เป็นแผลกดทับ (Bedsore)
    15. ประโยชน์ว่านหางจระเข้ช่วยลบท้องลายหลังคลอด ด้วยการใช้วุ้นของว่านหางจระเข้มาทาบริเวณท้องเป็นประจำทั้งในขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด
    16. สูตรว่านหางจระเข้พอกหน้า
    • สูตรบำรุงผิวหน้า กระชับรูขุมขน เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว ว่านหางจระเข้พอกหน้าด้วยการใช้วุ้นว่านหางจระเข้บด 1 ช้อนโต๊ะ / น้ำแตงกวา 1-2 ช้อนโต๊ะ / ดินสอพอง 1.5 ช้อนโต๊ะ นำมาผสมจนเข้ากันแล้วใช้พอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก
    • สูตรลดสิว รักษารอยดำจากสิว ด้วยการใช้วุ้นว่านหางจระเข้บด 1 ช้อนโต๊ะ / ไข่ขาว 2 ช้อนโต๊ะ / ดินสอพอง 1.5 ช้อนโต๊ะ นำมาผสมจนเข้ากัน ใช้ทาบริเวณใบหน้าทิ้งไว้ 15 นาทีแล้วล้างออก
    • สูตรลดความมัน แก้ปัญหาจุดด่างดำ ด้วยการใช้วุ้นว่านหางจระเข้บด 1 ช้อนโต๊ะ / น้ำมะนาว 1 ช้อนชา / น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา / ดินสอพอง 2 ช้อนโต๊ะ นำมาผสมให้เข้ากันแล้วนำมาพอกบริเวณใบหน้าทิ้งไว้ 15 นาทีแล้วล้างออก
    • สูตรผิวหน้ากระจ่างใส ด้วยการใช้วุ้นว่านหางจระเข้ 1 ช้อนโต๊ะ / นมสด 1.5 ช้อนโต๊ะ / ดินสอพอง 1 ช้อนโต๊ะ นำมาผสมจนเข้ากันแล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ 15 นาทีแล้วล้างออก
    • สูตรเพิ่มความกระจ่างใส ลดความมัน ด้วยการใช้วุ้นว่านหางจระเข้ 1 ช้อนโต๊ะ / นมสด 1.5 ช้อนโต๊ะ / ขมิ้นผง 2 ช้อนชา นำมาผสมจนเข้ากันแล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก

    คำแนะนำในการใช้ว่านหางจระเข้

    • การเลือกใช้ใบจากต้นว่านหางจระเข้ควรเลือกต้นที่มีอายุมากกว่า 1 ขึ้นไป และให้เลือกใบล่างสุดเพราะจะอวบโตและมีวุ้นมากกว่าใบที่อยู่ด้านบน
    • เนื่องจากวุ้นของว่านหางจระเข้ไม่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ควรปอกโดยใช้เทคนิคปลอดเชื้อ Aseptic technique เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
    • การนำวุ้นมาใช้เพื่อรักษาแผลจำเป็นต้องล้างน้ำให้สะอาด เพื่อป้องกันน้ำยางจากเปลือกที่มีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinone) เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้
    • ว่านหางจระเข้จะมีคุณภาพสูงสุดเมื่อตัดมาแล้วใช้ทันที และจะมีสรรพคุณทางยาที่ดีกว่าผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
    • วุ้นของว่านหางจระเข้จะไม่คงตัวเท่าไหร่นัก ดังนั้นถ้าปอกแล้วจะเก็บไว้ได้เพียง 6 ชั่วโมงเท่านั้น
    • หากนำว่านหางจระเข้ไปแช่ในตู้เย็นจนเย็นก่อนการนำมาใช้ จะช่วยทำให้รู้สึกสดชื่นเย็นสบายมากยิ่งขึ้น
    • การใช้เพื่อใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ไม่ควรใช้กับหญิงตั้งครรภ์หรือหญิงที่กำลังจะมีประจำเดือน รวมไปถึงผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวารด้วย
    • การใช้วุ้นจากใบเพื่อใช้เป็นยาทาภายนอก สำหรับบางรายแล้วอาจจะเกิดอาการแพ้ได้ (จากงานวิจัยพบว่าไม่ถึง 1%) โดยลักษณะของอาการแพ้หลังจากหรือปิดวุ้นลงบนผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังเป็นผื่นแดงบาง ๆ หรืออาจมีอาการเจ็บแสบด้วย โดยอาการจะแสดงหลังจากทาไปแล้วประมาณ 2-3 นาที ถ้าคุณมีอาการแพ้หลังการใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ก็ให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาด และเลิกใช้ทันที
    • ขอบคุณแหล่งข้อมูลจากhttps://medthai.com/%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89/

สืบค้นข้อมูลตรงนี้